วันเสาร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

อาชีพที่เกี่ยวข้องกับงานนิเทศศาสตร์

อาชีพที่เกี่ยวข้องกับนิเทศศาสตร์

10อาชีพที่เกี่ยวข้องกับนิเทศศาสตร์ (หลายๆสาขา)

1.อาชีพ พิธีกร (Master Of Ceremony : MC)

คือ ผู้ดำเนินการในพิธีต่างๆ เป็นบุคคลที่ทำหน้าที่ กำกับ/ นำ/ อำนวยการ ให้กิจกรรม รายการ หรือ รายการต่างๆ ดำเนินการไปให้แล้วเสร็จ เรียบร้อยตามวัตถุประสงค์และกำหนดการที่วางไว้

2.อาชีพ ครีเอทีฟ (Creative,Creator )

คนที่ทำอาชีพนี้จะต้องมีความคิดสร้างสรรค์ที่ดี เพราะจะต้องทำงานที่เกี่ยวกับด้านบันเทิง หรือ วิทยุโทรทัศน์โดยตรง หน้าที่ของของอาชีพนี้ก็เหมือนอย่างที่กล่าวไว้ตอนแรก คือ ต้องคิดและสร้างสรรค์ผลงานให้ออกมาดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ และขอให้คนที่ทำอาชีพนี้ระลึกไว้ด้วยว่า "ทุกเวลา คือการทำงาน" เพราะเวลาปกติในการทำงาน เวลานึกหรือคิด อะไรที่สร้างสรรค์นั้นทำได้ค่อนข้างยาก แต่ถ้าเป็นช่วงเวลาผ่อนคลาย อย่างเช่น ดูหนัง ฟังเพลง ทำงานอดิเรก หรืออื่นๆ ในเวลานี้มักจะเกิดความคิดในหัวขึ้นมากมาย จึงเป็นเวลาที่เหมาะสมอย่างมากที่จะคิด และสร้างสรรค์ผลงาน

3.อาชีพ นักจัดรายการวิทยุ (Disc Jockey: DJ)

อาชีพนี้ คือการนำเสนอเนื้อหาทางรายการวิทยุ เพื่อให้สาระ และความบันเทิงแก่ผู้รับฟัง ต้องซักซ้อม ทำความเข้าใจกับบทวิทยุ หรือข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ก่อนออกอากาศหรือบันทึกเสียง ดำเนินรายการตามรูปแบบ และวุตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ โดยการอ่าน พูดคุย หรือการสัมภาษณ์บุคคล การตอบปัญหาทางโทรศัพท์ ทางFacebook หรืออื่นๆ ควบคุมให้การนำเสนอเนื้อหาให้เสร็จภายในเวลาที่กำหนด

4.อาชีพ นักแสดง (Actor)

อาชีพนักแสดง คนที่ทำอาชีพประเภทนี้ หากเป็นคนที่บุคคลิกรูปร่าง หน้าตาดี หรือมีเอกลักษณ์ที่พิเศษ
มักจะกลายเป็นคนที่ดังได้ภายในชั่วข้ามคืน หากบทบาทของตัวละครและการแสดงนั้นดีจริง คนที่ทำอาชีพนี้ได้จะต้องมีความถนัดทางศิลป, มีสุนทรีย์ สนใจสิ่งสวยงาม ดนตรี วรรณกรรม, มีอารมณ์อ่อนไหว, มีจินตานการสูง มีความคิดสร้างสรรค์ และไม่ลอกเลียนแบบใคร

5.อาชีพ ผู้กำกับภาพยรตร์ (Film Director)

 คือ ผู้ที่มีหน้าที่กำกับในขั้นตอนการสร้างภาพยนตร์ โดยผู้กำกับภาพยนตร์มีหน้าที่สร้างจินตนาการจากบทหนัง แล้วถ่ายทอดความคิดทางด้านศิลปะออกมาตามรูปแบบที่ตนเองต้องการจะถ่ายทอด และเป็นคนสั่งฝ่ายอื่นๆ ในกองถ่าย เช่น ฝ่ายผู้กำกับ, ผู้กำกับการแสดง เป็นต้น

6.อาชีพ CG Creator ( Computer Graphic Creator)

ไม่ใช่แค่งานภาพยนตร์ หรือเกมเท่านั้นท่ี่ต้องการ Computer Graphic แต่CG แทรกซึมอยู่ในงาน หลากหลายสาขา เช่น นิตยสาร รายการโทรทัศน์ ที่เราดูอยู่ทุกวันโดยไม่รู้สึกตัว CG Creator จึงเป็นอาชีพที่สร้างโลกที่เราไม่เคยเห็นมาก่อนขึ้นมา ยกตัวอย่างเช่น มอนสเตอร์ หรือ ภาพทิวทัศน์เมือง บรรยากาศต่างๆ แม้กระทั่ง จักรวาลอื่น ก็ยังเคยสร้างมาแล้ว CG Creator คนที่ทำอาชีพนี้ หน้าที่คือ ออกแบบ และทำผลงานออกมาให้ดูสมจริง และดูสวยงามอลังการ แต่การที่จะทำแบบนี้ได้ ก็ต้องมีทักษะ เพราะทักษะ ย่อมสำคัญ แต่มากไปกว่านั้นคือการที่มีความสนใจที่หลากหลาย และความกระตือรือร้นที่จะสร้างผลงานออกมา ซึ่งจะนำไปสู่การเป็น Creator ที่ทุกคนอยากร่วมงานด้วย และสิ่งสำคัญที่สุด คือ การสร้างความสุขจากใจ ให้ผู้ชม

7.อาชีพ นักออกแบบแฟชั่น (Fashion Designer)

นักออกแบบแฟชั่น มี2ประเภท 1.ประเภทที่ทำงานเต็มเวลากับบริษัทที่มีชื่อเสียง 2.ประเภทที่ทำเป็นงานเสริมเพื่อแบรนด์ของตัวเอง และส่งให้ร้านค้า หน้าที่ของนักออกแบบแฟชั่น คือการออกแบบชุดแฟชั่นหลากหลายประเภท ไม่ว่าจะลงกระดาษ หรือ ทาบผ้าบนหุ่นเพื่อให้เกิดทรงของชุด หลังจากที่เสร็จ ก็จะเอาคนออกแบบลวดลายเข้ามาช่วย แล้วทำลวดลายตามที่นักออกแบบแฟชั่นต้องการ การออกแบบชุดแฟชั่นนั้น มักจะมีเป็น collection อย่างเช่น collection สัตว์ป่า collection อนาคต เป็นต้น

8.อาชีพ ช่างภาพ (Photographer)

อาชีพช่างถาพ ปัจจุบัน เป็นอาชีพที่มีความสำคัญต่องานหลายๆประเภท เช่น นิตยสาร แฟชั่น งานหนังสือ งานมงคล ท่องเที่ยว เว็บไซต์ อื่นๆอีกมาก หลายๆคยอาจคิดว่า ใครๆก็สามารถถ่ายภาพได้ เพียงซื้อกล้องมาในราคาหลักพันไปจนถึง หลักหมื่นบาท แต่คุณมีความชำนาญเกี่ยวกับอุปกรณ์ถ่ายภาพ การจัดองค์ประกอบภาพ และความคิดสร้างสรรค์หรือไม่ ตรงนี้คือสิ่งสำคัญมากๆ ไม่ใช่ว่าใครก็ทำได้ ถ้าไม่ได้ศึกษามาอย่างจริงจัง หน้าที่ช่างภาพ คือการถ่ายถ่ายภาพ จัดองค์ประกอบของภาพให้ดูดี และสวยงาม หากเป็นระดับมืออาชีพอาจจะมีลูกเล่นแปลกๆแต่สวยงาม มาให้แปลกใจกันบ้าง

9.อาชีพ นักเขียน (Writer)

อาชีพนักเขียน รูปแบบความคิดจะอยู่ก้ำกึ่งระหว่าง นักครีเอทีฟ กับ นักแสดง เพราะจะต้องเป็นคนที่มีอารมณ์สุนทีรย์ และมีความอ่อนไหวทางด้านอารมณ์อย่างมาก เพื่อที่จะเข้าถึงบทบาทของตัวละครที่นักเขียนต้องการจะสร้างสรรค์ขึ้น ปัจจุบัน มีนวนิยายดังๆ อยู่มากมาย เช่น Sherlock Holmes, HarryPotter, Hunger Games เป็นต้น การทำงานของนักเขียน มีรูปแบบที่ค่อนข้างจะเรียบง่าย แต่ต้องเข้าถึงอารมณ์ตัวละครที่ต้องการจะสื่อ เพราะการเขียนเป็นหนังสือ ไม่เหมือนกับการถ่ายทอดแบบ ภาพยนตร์ จึงจำเป็นอย่างมากที่จะต้องสร้างสรรค์ผลงานออกมาให้คนอ่านรู้สึก และมีอารมณ์ร่วมตามหนังสือ อาชีพนักเขียน จะเรียกว่า ศิลปิน ก็คงจะไม่แตกต่างเท่าไหร่ เพราะรูปแบบก็คล้ายคลึงอย่างมาก

10.อาชีพ นักเขียนบทละคร(Playwriter)

อาชีพนี้จริงๆแล้วไม่ค่อยจะแตกต่างกับนักเขียนซักเท่าไหร่ แต่มีบางอย่างที่ไม่เหมือนกัน คือ การเขียนบทละคร คือการเขียนบทเพื่อให้นักแสดงเป็นคนสื่ออารมณ์ออกมา กับ นวนิยาย ที่ต้องใช้ตัวอักษรมาบรรยายอารมณ์ และความรู้สึก หน้าที่ของ คนเขียนบทละคร เป็นอาชีพที่ค่อนข้างจะอิสระอยู่พอสมควร
แทบไม่จำเป้นที่จะต้องใช้ต้นทุนอะไรมากมาย แต่ก็สามารถสร้างบทละครขึ้นมาได้ เพียงแค่เรามีความคิดสร้างสรรค์ อารมณ์สุนทรีย์ และคอมพิวเตอร์ หรือกระดาษกับปากกาก็ได้ แค่นี้ก็เขียนบทละครขึ้นมาได้แล้ว แต่ถ้าหากบางคนอบากจะเข้าถึงอารมณ์ให้มากกว่านี้เพื่อบทละคร ลองนึกจินตนาการสถาณการณ์ต่างๆขึ้นมา แล้วนึกตัวละครขึ้น แสดงภาพในหัวเป็นฉากๆไป แค่นี้เท่านั้น 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น