วันเสาร์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ระบบรักษาความปลอดภัยในการใช้งานคอมพิวเตอร์

แนวคิดเกี่ยวกับระบบรักษาความปลอดภัยของคอมพิวเตอร์

เกิดขึ้นเนื่องจากบุคคลที่ไม่ประสงค์ดีเข้ามาทำลายข้อมูลภายในระบบด้วยรูปแบบต่างๆ

- การส่งไวรัสเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์

- การละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลของผู้อื่น ด้วยการหลอกลวงไม่ว่าวิธีใดๆก็ตาม

- ความพยายามที่จะใช้อุบายหรือขโมยรหัสผู้ใช้งาน เพื่อข้ามผ่านระบบรักษาความปลอดภัยเข้าสู่ระบบข้อมูล และเครือข่ายต่างๆ

ควรจะเพิ่มความสามารถในการรักษาความปลอดภัยให้มากขึ้น เพื่อความปลอดภัย

คำจำกัดความในด้าน Security

Security การปกป้องที่ทำให้เกิดความมั่นใจ ว่าการกระทำหรืออิทธิพล ที่ไม่เป็นมิตรไม่สามารถจะมีผลกระทบได้

Information Security การรักษาความปลอดภัย โดยการใช้นโยบาย หรือ ระเบียบปฏิบัติ

Hacking การใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต หรือ การพยายามที่จะใช้อุบายหรือข้ามผ่านระบบรักษาความปลอดภัยเพื่อเข้าสู่ระบบข้อมูลและ เครือข่าย

Hacker
- เสาะค้นหารายละเอียดเกี่ยวกับเครื่องคอมพิวเตอร์และวิธีการที่จะใช้เครื่ิงให้ได้เต็มที่หรือเกินขีดความสามาถของเครื่อง

- พยายามจะให้ได้มาซึ่งข้อมูลโดยการสอดแนมในที่ต่างๆ

- เรียนรู้และใช้โปรแกรมให้ได้เต็มหรือเกินขีดความสามารถ ซึ่งตรงข้ามกับผู้ใช้ทั่วๆไปที่ต้องการจะเรียนรู่เท่าที่จำเป็นต้องใช้งานเท่านั้น

- โจมตีเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อความท้าทาย ความมีชื่อเสียง หรือความตื่นเต้นที่จะได้มา เมื่อประสบความสำเร็จ

Cracker ผู้ที่ใช้ทักษะในการ hacking เพื่อจุดประสงค์ในการบุกรุกทำลาย ระบบ และรวมทั้งลักลอบขโมยข้อมูลของบุคคลอื่น

Ethical hacker ผู้เชี่ยวชาญทางด้าน security ผู้ซึ่งใช้ทักษะในการ hacking เพื่อจุดประสงค์ในการป้องกันระบบ

Threat ภัยคุกคามหรือ สิ่งที่ละเมิดระบบรักษาความปลอดภัย และอาจก่อให้เกิดผลกระทบซึ่งเป็นอันตรายต่อระบบ

Vulnerability

- ช่องโหว่ หรือจุดบกพร่องในระบบ

- รูปแบบการทำงานทาง ฮาร์ดแวร์ เฟิร์มแวร์ หรือซอฟท์แวร์ ที่สามารถเปิดโอกาสให้ระบบข้อมูลอัตโนมัติถูกเจาะได้

- ข้อบกพร่องในระเบียบปฏิบัติด้านความปลอดภัย การควบคุมการจัดการ การวางแผนผังทางกายภาพ การควบคุมภายใน และอื่นๆ ของระบบอัตโนมัติ ที่เปิดโอกาสให้สิ่งที่เป็นภัยคุกคามสามารถเข้าถึงข้อมูล
โดยไม่ได้รับอนุญาติหรือสามารถสร้างความเสียหายให้กับกรรมวิธีที่มีความสำคัญได้

 Attack การโจมตี หรือ ความพยายามที่จะข้ามผ่านระบบการรักษาความปลอดภัยของเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งการโจมตีนั้น อาจทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงข้อมูล ข้อมูลถูกเปิดเผย ข้อมูลหายไป หรืออาจจะ เป็นการโจมตีเพื่อให้ระบบหรือเครื่องคอมพิวเตอร์นั้น ไม่สามารถให้บริการได้ โดยการโจมตีประสบผลสำเร็จหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับช่องโหว่ของระบบคอมพิวเตอร์และประสิทธิผลของมาตรการรักษาความปลอดภัยของระบบนั้นๆ

ไวรัสคอมพิวเตอร์ (Computer Viruses)

ไวรัสเป็นกลุ่มคำสั่ง ที่ถูกสร้างขึ้นมาด้วยเหตุผลหลายประการ เช่น รบกวนการทำงาน ก่อให้เกิดความรำคาญ เปลี่ยนแปลงข้อมูล ทำให้ข้อมูลเสียหาย หรือทำลายอุปรณ์คอมพิวเตอร์ โดยส่วนใหญ่มักติดต่อโดยที่ ผู้ใช้ไม่ทราบ

Worm เป็นไวรัสที่สามารถทำงานได้โดยตัวเอง

ไวรัส เป็นกลุ่มคำสั่งที่ติด หรือแฝงมากับสิ่งอื่น

ลักษณะการทำงานของไวรัสคอมพิวเตอร์

- สามารถสำเนาตัวเองไปยังไฟล์ข้อมูลอื่น หรือคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆได้

- รบกวนการทำงานของผู้ใช้เช่น แสดงเสียง หรือทำให้การแสดงผลจอภาพผิดปกติ

- เปลี่ยนแปลง หรือทำลายไฟล์ข้อมูล

- เปลี่ยนแปลง หรือทำให้อุปกรณ์เสียหาย

ชนิดของไวรัสคอมพิวเตอร์

1. ไวรัสบูตเซกเตอร์ (Boot Sector Virus) เป็นไวรัสที่แฝงตัวในบูตเซกเตอร์ของแผ่นดิสก์ ทุกครั้งที่มีการใช้แผ่นดิสก์ จะต้องมีการอ่านข้อมูลในบูตเซกเตอร์ทุกครั้ง ทำให้โอกาสติดไวรัสได้ง่าย

2. ไวรัสฟล์ข้อมูล (File Virus) เป็นไวรัสที่ติดกับไฟล์ข้อมูล หรือไฟล์โปรแกรมต่างๆ โดยส่วนมากจะติดกับไฟล์ที่มักเรียกใช้บ่อย เช่น ไฟล์นามสกุล .exe, .dll, .com

3.โทรจันไวรัส (Trojan Horse Virus) เป็นไวรัสที่แฝงมากับไฟล์อื่นๆ ที่ดูแล้วไม่น่าจะมีอันตรายใดๆ เช่น เกมส์ โปรแกรมฟรีแวร์หรือซอฟท์แสร์ เมื่อใช้ไประยะเวลาหนึ่งแล้วไวรัสก็จะแสดงตัวออกมา ซึ่งอาจทำลายระบบคอมพิวเตอร์ของเรา

4.มาโครไวรัส (Macro Virus) เป็นไวรัสที่เขียนขึ้นมาจากคำสั่งภาษามาโคร ที่มีอยู่ในโปรแกรมประมวลผลคำ, หรือโปรแกรมในชุดไมโครซอฟต์ออฟฟิส เมื่อเราเปิดเอกสารที่มีไวรัส ไวรัสก็จะแพร่กระจายไปยังไฟล์อื่น

5.อีเมลล์ไวรัส (Email Virus) ปัจจุบันมีการใช้อีเมลล์ในการสื่อสารกันมาก แม้เพียงเราเข้าไปดูรายชื่อของจดหมายก้ติดไวรัสแล้ว ซึ่งอาจมีไวรัสแพร่กระจายมาด้วย ความร้ายแรงก็อยู่ที่ปริมาณอรเมลล์ที่แพร่กระจายไปจนอาจทำให้เครื่อง Server ไม่สามารถทำงานได้

การป้องกันและจำกัดไวรัส

1.Hardware ใช้อุปรณ์ฮาร์ดแวร์ในการป้องกันและกำจัดไวรัส เช่น Antivirus card ราคาประมาณ 1000บาท
2.Software ใช้ซอฟท์แวร์ในการป้องกันและกำจัดไวรัส ซึ่งสามารถอัพเกรดได้ง่ายกว่า เช่น Mccafee, Norton, Trendmicro

การป้องกันโดยการควบคุมการเข้าถึง (Access control)

Access Control คือ ระบบควบคุมการเข้าใช้งาน เป็นวิธีการป้องกันการโจรกรรมข้อมูลจากผู้ไม่มีสิทธิ์ในการเข้าใช้ระบบ ปัจจุบัน แบ่งออกเป็น 5 รูปแบบ ดังนี้

1.ชื่อผู้ใช้และรหัสผ่าน (Username and Password) การกำหนดรหัสผ่านกับรหัสการเข้าใช้เพื่อความปลอดภัยในการเข้าถึงข้อมูลต่างๆ

2.วัตถุครอบครอง (Possessed Object) เป็นรูปแบบหนึ่งที่นิยมใช้ในปัจจุบัน การเข้าใช้คอมพิวเตอร์ต้องมีกุญแจในการเข้าใช้ระบบ เช่น ATM, Keycard เป็นต้น

3.ใช้อุปกรณ์ Biometric เป็นอุปกรณ์รักษาความปลอดภัยโดยใช้คุณลักษณะเฉพาะของร่างกาย ได้แก่ ตา, นิ้สมือ, ฝ่ามือ เป็นต้น

4.ซอฟท์แวร์ตรวจจับการบุกรุก คอยตรวจสอบการเข้าใช้ทรัพยากรของเครือข่าย แล้วรายงานไปยังผู้ดูแลระบบรักษาความปลอดภัยการตรวจสอบการ Login การเข้าใช้งาน

5.ผู้ให้บริหารจัดการความปลอดภัย คอยตรวจสอบและดูแลรักษาฮาร์ดแวร์และซอฟท์แวร์ ตลอดจนรักษาความปลอดภัยของเครือข่ายให้เหมาะสมกับองค์กรขนาดเล็ก - ขนาดใหญ่

วันเสาร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

อาชีพที่เกี่ยวข้องกับงานนิเทศศาสตร์

อาชีพที่เกี่ยวข้องกับนิเทศศาสตร์

10อาชีพที่เกี่ยวข้องกับนิเทศศาสตร์ (หลายๆสาขา)

1.อาชีพ พิธีกร (Master Of Ceremony : MC)

คือ ผู้ดำเนินการในพิธีต่างๆ เป็นบุคคลที่ทำหน้าที่ กำกับ/ นำ/ อำนวยการ ให้กิจกรรม รายการ หรือ รายการต่างๆ ดำเนินการไปให้แล้วเสร็จ เรียบร้อยตามวัตถุประสงค์และกำหนดการที่วางไว้

2.อาชีพ ครีเอทีฟ (Creative,Creator )

คนที่ทำอาชีพนี้จะต้องมีความคิดสร้างสรรค์ที่ดี เพราะจะต้องทำงานที่เกี่ยวกับด้านบันเทิง หรือ วิทยุโทรทัศน์โดยตรง หน้าที่ของของอาชีพนี้ก็เหมือนอย่างที่กล่าวไว้ตอนแรก คือ ต้องคิดและสร้างสรรค์ผลงานให้ออกมาดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ และขอให้คนที่ทำอาชีพนี้ระลึกไว้ด้วยว่า "ทุกเวลา คือการทำงาน" เพราะเวลาปกติในการทำงาน เวลานึกหรือคิด อะไรที่สร้างสรรค์นั้นทำได้ค่อนข้างยาก แต่ถ้าเป็นช่วงเวลาผ่อนคลาย อย่างเช่น ดูหนัง ฟังเพลง ทำงานอดิเรก หรืออื่นๆ ในเวลานี้มักจะเกิดความคิดในหัวขึ้นมากมาย จึงเป็นเวลาที่เหมาะสมอย่างมากที่จะคิด และสร้างสรรค์ผลงาน

3.อาชีพ นักจัดรายการวิทยุ (Disc Jockey: DJ)

อาชีพนี้ คือการนำเสนอเนื้อหาทางรายการวิทยุ เพื่อให้สาระ และความบันเทิงแก่ผู้รับฟัง ต้องซักซ้อม ทำความเข้าใจกับบทวิทยุ หรือข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ก่อนออกอากาศหรือบันทึกเสียง ดำเนินรายการตามรูปแบบ และวุตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ โดยการอ่าน พูดคุย หรือการสัมภาษณ์บุคคล การตอบปัญหาทางโทรศัพท์ ทางFacebook หรืออื่นๆ ควบคุมให้การนำเสนอเนื้อหาให้เสร็จภายในเวลาที่กำหนด

4.อาชีพ นักแสดง (Actor)

อาชีพนักแสดง คนที่ทำอาชีพประเภทนี้ หากเป็นคนที่บุคคลิกรูปร่าง หน้าตาดี หรือมีเอกลักษณ์ที่พิเศษ
มักจะกลายเป็นคนที่ดังได้ภายในชั่วข้ามคืน หากบทบาทของตัวละครและการแสดงนั้นดีจริง คนที่ทำอาชีพนี้ได้จะต้องมีความถนัดทางศิลป, มีสุนทรีย์ สนใจสิ่งสวยงาม ดนตรี วรรณกรรม, มีอารมณ์อ่อนไหว, มีจินตานการสูง มีความคิดสร้างสรรค์ และไม่ลอกเลียนแบบใคร

5.อาชีพ ผู้กำกับภาพยรตร์ (Film Director)

 คือ ผู้ที่มีหน้าที่กำกับในขั้นตอนการสร้างภาพยนตร์ โดยผู้กำกับภาพยนตร์มีหน้าที่สร้างจินตนาการจากบทหนัง แล้วถ่ายทอดความคิดทางด้านศิลปะออกมาตามรูปแบบที่ตนเองต้องการจะถ่ายทอด และเป็นคนสั่งฝ่ายอื่นๆ ในกองถ่าย เช่น ฝ่ายผู้กำกับ, ผู้กำกับการแสดง เป็นต้น

6.อาชีพ CG Creator ( Computer Graphic Creator)

ไม่ใช่แค่งานภาพยนตร์ หรือเกมเท่านั้นท่ี่ต้องการ Computer Graphic แต่CG แทรกซึมอยู่ในงาน หลากหลายสาขา เช่น นิตยสาร รายการโทรทัศน์ ที่เราดูอยู่ทุกวันโดยไม่รู้สึกตัว CG Creator จึงเป็นอาชีพที่สร้างโลกที่เราไม่เคยเห็นมาก่อนขึ้นมา ยกตัวอย่างเช่น มอนสเตอร์ หรือ ภาพทิวทัศน์เมือง บรรยากาศต่างๆ แม้กระทั่ง จักรวาลอื่น ก็ยังเคยสร้างมาแล้ว CG Creator คนที่ทำอาชีพนี้ หน้าที่คือ ออกแบบ และทำผลงานออกมาให้ดูสมจริง และดูสวยงามอลังการ แต่การที่จะทำแบบนี้ได้ ก็ต้องมีทักษะ เพราะทักษะ ย่อมสำคัญ แต่มากไปกว่านั้นคือการที่มีความสนใจที่หลากหลาย และความกระตือรือร้นที่จะสร้างผลงานออกมา ซึ่งจะนำไปสู่การเป็น Creator ที่ทุกคนอยากร่วมงานด้วย และสิ่งสำคัญที่สุด คือ การสร้างความสุขจากใจ ให้ผู้ชม

7.อาชีพ นักออกแบบแฟชั่น (Fashion Designer)

นักออกแบบแฟชั่น มี2ประเภท 1.ประเภทที่ทำงานเต็มเวลากับบริษัทที่มีชื่อเสียง 2.ประเภทที่ทำเป็นงานเสริมเพื่อแบรนด์ของตัวเอง และส่งให้ร้านค้า หน้าที่ของนักออกแบบแฟชั่น คือการออกแบบชุดแฟชั่นหลากหลายประเภท ไม่ว่าจะลงกระดาษ หรือ ทาบผ้าบนหุ่นเพื่อให้เกิดทรงของชุด หลังจากที่เสร็จ ก็จะเอาคนออกแบบลวดลายเข้ามาช่วย แล้วทำลวดลายตามที่นักออกแบบแฟชั่นต้องการ การออกแบบชุดแฟชั่นนั้น มักจะมีเป็น collection อย่างเช่น collection สัตว์ป่า collection อนาคต เป็นต้น

8.อาชีพ ช่างภาพ (Photographer)

อาชีพช่างถาพ ปัจจุบัน เป็นอาชีพที่มีความสำคัญต่องานหลายๆประเภท เช่น นิตยสาร แฟชั่น งานหนังสือ งานมงคล ท่องเที่ยว เว็บไซต์ อื่นๆอีกมาก หลายๆคยอาจคิดว่า ใครๆก็สามารถถ่ายภาพได้ เพียงซื้อกล้องมาในราคาหลักพันไปจนถึง หลักหมื่นบาท แต่คุณมีความชำนาญเกี่ยวกับอุปกรณ์ถ่ายภาพ การจัดองค์ประกอบภาพ และความคิดสร้างสรรค์หรือไม่ ตรงนี้คือสิ่งสำคัญมากๆ ไม่ใช่ว่าใครก็ทำได้ ถ้าไม่ได้ศึกษามาอย่างจริงจัง หน้าที่ช่างภาพ คือการถ่ายถ่ายภาพ จัดองค์ประกอบของภาพให้ดูดี และสวยงาม หากเป็นระดับมืออาชีพอาจจะมีลูกเล่นแปลกๆแต่สวยงาม มาให้แปลกใจกันบ้าง

9.อาชีพ นักเขียน (Writer)

อาชีพนักเขียน รูปแบบความคิดจะอยู่ก้ำกึ่งระหว่าง นักครีเอทีฟ กับ นักแสดง เพราะจะต้องเป็นคนที่มีอารมณ์สุนทีรย์ และมีความอ่อนไหวทางด้านอารมณ์อย่างมาก เพื่อที่จะเข้าถึงบทบาทของตัวละครที่นักเขียนต้องการจะสร้างสรรค์ขึ้น ปัจจุบัน มีนวนิยายดังๆ อยู่มากมาย เช่น Sherlock Holmes, HarryPotter, Hunger Games เป็นต้น การทำงานของนักเขียน มีรูปแบบที่ค่อนข้างจะเรียบง่าย แต่ต้องเข้าถึงอารมณ์ตัวละครที่ต้องการจะสื่อ เพราะการเขียนเป็นหนังสือ ไม่เหมือนกับการถ่ายทอดแบบ ภาพยนตร์ จึงจำเป็นอย่างมากที่จะต้องสร้างสรรค์ผลงานออกมาให้คนอ่านรู้สึก และมีอารมณ์ร่วมตามหนังสือ อาชีพนักเขียน จะเรียกว่า ศิลปิน ก็คงจะไม่แตกต่างเท่าไหร่ เพราะรูปแบบก็คล้ายคลึงอย่างมาก

10.อาชีพ นักเขียนบทละคร(Playwriter)

อาชีพนี้จริงๆแล้วไม่ค่อยจะแตกต่างกับนักเขียนซักเท่าไหร่ แต่มีบางอย่างที่ไม่เหมือนกัน คือ การเขียนบทละคร คือการเขียนบทเพื่อให้นักแสดงเป็นคนสื่ออารมณ์ออกมา กับ นวนิยาย ที่ต้องใช้ตัวอักษรมาบรรยายอารมณ์ และความรู้สึก หน้าที่ของ คนเขียนบทละคร เป็นอาชีพที่ค่อนข้างจะอิสระอยู่พอสมควร
แทบไม่จำเป้นที่จะต้องใช้ต้นทุนอะไรมากมาย แต่ก็สามารถสร้างบทละครขึ้นมาได้ เพียงแค่เรามีความคิดสร้างสรรค์ อารมณ์สุนทรีย์ และคอมพิวเตอร์ หรือกระดาษกับปากกาก็ได้ แค่นี้ก็เขียนบทละครขึ้นมาได้แล้ว แต่ถ้าหากบางคนอบากจะเข้าถึงอารมณ์ให้มากกว่านี้เพื่อบทละคร ลองนึกจินตนาการสถาณการณ์ต่างๆขึ้นมา แล้วนึกตัวละครขึ้น แสดงภาพในหัวเป็นฉากๆไป แค่นี้เท่านั้น 

วันเสาร์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ไฟล์ภาพและการใช้สีในงานกราฟิก

ไฟล์ภาพประเภทต่างๆ

รูปแบบของถาพมี2แบบหลัก คือ

1.แบบBitmap หรือ Raster    

          คือภาพที่เกิดจากหน่วยภาพเล็กๆแล้วรวมกันเป็นภาพใหญ่ มีลักษณะคล้ายจิ๊กซอว์ต่อกันเป็นถาพ
สามารถเห็นรายละเอียดภาพได้โดยการซูมภาพเข้าไป กล่าวได้ว่า ยิ่งซูมมากเท่าไหร่ ภาพยิ่งแตกลายจิ๊กซอว์มากเท่านั้น โดยภาพพวกนี้ มีนามสกุลหลักๆคือ .JPEG,.TIFF,.GIF เป็นต้น

2.แบบVector

          ภาพแบบVector เป็นภาพที่เกิดจากเส้นโค้ง หรือเส้นตรง และคุณสมบัติสีของเส้นนั้นๆที่เกิดจากการคำนวณทางคณิตศาสตร์ (ที่เราไม่สามารถมองเห็นด้วยตา)กล่าวคือ จุดๆหนึ่งของภาพที่เราได้ซูมเข้าไปนั้น มันจะเกิดการกำหนดคุณสมบัติไว้ว่า ภาพเกิดจากเส้นตรง หรือเส้นโค้งเอียงกี่องศา  เก็บค่ารหัสสีอะไรไว้ และไม่ว่าเราจะซูมขยายภาพมากเท่าไหร่ก็ตาม ภาพนั้นจะไม่มีทางแตกลายเด็ดขาด(ไม่สูญเสียความละเอียดไป) เพราะการซูมภาพ เป็นการคูณจำนวนเท่า ลงไปที่คุรสมบัติภาพนั่นเอง
นามสกุลภาพVector ได้แก่ .wmf (Clipart ที่ตกแต่งใน Microsoft Office), ภาพใน Adobe Illustrator หรือ Macromedia Freehand เป็นต้น

ชนิดของภาพสำหรับงานกราฟฟิก

1.JPEG(Joint PhotoGraphic's Experts Group)

จุดเด่น

-สนับสุนนสีได้มากถึง 24bit
-สามารถกำหนดคุณถาพ และตั้งค่าการบีบอัดไฟล์ภาพได้
-ใช้ในInternet(World Wild Web) มีนามสกุล.jpg
-มีโปรแกรมสนับสนุนการสร้างจำนวนมาก
-เรียกดูภาพได้ใน Graphic Browser ทุกตัว

จุดด้อย

-ไม่สามารถทำให้พื้นที่ของภาพ เป็นแบบโปร่งใสได้(Transparent/Opacity)
-หากกำหนดค่าการบีบอัดไว้สูง เมื่อส่งภาพจากServer(แม่ข่าย)-->Client(ลูกข่าย) จะทำให้การแสดงผลช้าเพราะต้องเสียเวลาในการขยายไฟล์

2.TIFF(Tag Image File Format)

จุดเด่น

-เป็นรูปแบบที่ทำให้ภาพRaster หรือ Bitmap สามารถใช้งานร่วมกับ Application ต่างๆ รวมทั้งโปรแกรมจัดภาพจาก Scaner

จุดด้อย

-ไฟล์ภาพขนาดใหญ่ เพราะต้องเก็บรายละเอียดความคมชัดไว้สูง

3.GIF(Graphic Interchange Format)

จุดเด่น

-เป็นภาพที่นิยมมากที่สุดบน web/Intenet
-มีขนาดเล็กมาก
-สามารถทำพื้นให้เป็นแบบโปร่งใสได้(Transparent/Opacity)
-สามารถทำเป็นภาพเคลื่อนไหวบนwebpageได้ โดยใช้เครื่องมือช่วยสร้าง เช่น Java,Flash
-มีโปรแกรมสนับสนุนจำนวนมาก
-สามารถเรียกดูภาพได้ในGraphic Browser ทุกตัว

จุดด้อย

-แสดงภาพได้เพียง 256สีเท่านั้น ไม่เหมาะสำหรับการนำเสนอภาพถ่าย หรือภาพที่มีความละเอียดสูง

4.PNG

จุดเด่น

-เอาคุณสมบัติของ(JPEGและGIF)มาใช้ คือ สีมากกว่า256สี และโปร่งใสได้
-PNGมีการบีบอักข้อมูลโดยไม่เสียคุณภาพ
-ทำให้โปร่งใสได้(Transparency) และยังควบคุมองศาความโปร่งใส(Opacity)ได้ด้วย
-เก็บบันทึกภาพด้วยสีจริง(true Color) ได้เช่นเดียวกับตารางสี(Pallete) และสีเทา(Grayscale)แบบGIF

จุดด้อย

-ไม่สนับสนุนภสพเคลื่อนไหว เพราะไม่สามารถเก็บภาพหลายๆภาพไว้ด้วยกันได้


สีในงานComputer Graphic

          โดยทั่วไปสีในงานคอมพิวเตอร์กราฟฟิก เป็ทั้งสีะรรมชาติ และสีที่สร้างขึ้น จะมีรูปแบบการมองเห็นของสีที่แตกต่างกัน ซึ่งรูปแบบการมองเห็นสีนั้น มีอยู่ด้วยกัน 4ระบบ คือ

1.ระบบสีแบบRGB ตามหลักการแสดงสีของเครื่องคอมพิวเตอร์
2.ระบบสีแบบCMYK ตามหลักการแสดงสีของเครื่องพิมพ์
3.ระบบสีแบบHSB ตามหลักการมองเห็นสีของสายตามนุษย์
4.ระบบสีแบบLab ตามมาตรฐานของCIE ซึ่งไม่ขึ้นอยู่กับอุปกรณ์ใดๆ

1.ระบบสีแบบRGB

       
          เป็นระบบสีที่ประกอบด้วยแม่สี3สี คือ แดง เหลือง น้ำเงิน ในสัดส่วนความเข้มข้นที่แตกต่างกัน เมื่อนำมาผสมกันทำให้เกิดสีต่างๆ บนจอคอมพิวเตอร์ได้มากถึง 16.7ล้านสี แสงสีแบบRGB มักถูกใช้สำหรับการส่องสว่างในรูปแบบทีวี และจอคอมพิวเตอร์ ซึ่งสร้างจากการให้กำเนิดแสงสีแดง สีเขียว และสีน้ำเงิน ทำให้ดูสว่างกว่าความเป็นจริง

2.ระบบสีแบบCMYK

          เป็นระบบสีที่ใช้กับเครื่องพิมพ์ที่พิมพ์ออกทางกระดาษ ซึ่งประกอบด้วยสีพื้นฐาน คือ สีฟ้า สีม่วงแดง และ สีเหลือง และเมื่อนำทั้งสามสีมาผสมกัน ก็จะเกิดเป็นสีดำ แต่จะดำไม่สนิท เนื่องจากสีดำในหมึกพิมพ์นั้นไม่บริสุทธิ์ โดยเรียกการผสมสี ทั้ง3สีข้างต้นว่า Subtractive Color หรือการผสมสีแบบลบ

3.ระบบสีแบบHSB

          เป็นระบบสีพื้นฐานในการมองเห็นสีด้วยสายตาของมนุษย์ ประกอบด้วยลักษณะของสี 3 ลักษณะ คือ

-HUE คือสีต่างๆ ที่สะท้อนออกมาจากวัตถุ เข้ามายังตาเรา ทำให้เราสามารถมองเห็นวัตถุเป็นสีต่างๆได้
ซึ่งแต่ละสีจะแตกต่างกัน ตามความยาวของคลื่นแสงที่มากระทบวัตถุและสะท้อนกลับไปที่ตาของเรา

-Saturation คือ ความสดของสี โดยค่าความสดจะอยู่ที่ 0 ถึง 100 ถ้า กำหนด Saturation ที่ 0 สีจะมีความสดน้อย แต่ถ้ากำหนดที่ 100 จะมีความสดมาก

-Brightness คือ ระดับความสว่าง และความมืดของสี โดยค่าความสว่าง จะเริ่มที่ 0 ถึง 100 ถ้ากำหนดที่ 0 ความสว่างจะน้อย แต่ถ้ากำหนดที่ 100 ความสว่างจะมาก

 4.ระบบสีแบบLab

          ระบบสีแบบLab เป็นค่าสีที่ถูกกำหนดขึ้น โดยCIE(Commission Intenational d' Eclarirage) เพื่อให้เป็นสี มาตรฐานกลางของการวัดสีทุกรูปแบบ ครอบคลุมทุกสีใน RGB และ CMYK และใช้ได้กับสีที่เกิดจากอุปกรณ์ทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นจอคอมพิวเตอร์ เครื่องสแกน และอื่นๆ ส่วนประกอบของโหมดสีนี้ ได้แก่ 

L หรือ Luminance เป็นการกำหนดความสว่าง ซึ่งมีค่าตั้งแต่ 0 ถึง 100 ภ้ากำหนดที่ 0  จะกลายเป็นสีดำ แต่ถ้ากำหนดที่ 100 จะกลายเป็นสีขาว 
A เป็นค่าสีที่ไล่จากสีเขียวไปถึงสีแดง
Bเป็นค่าของสีที่ไล่จากสีน้ำเงินไปยังสีเหลือง

วันเสาร์ที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

การนำเสนอด้วยสื่อ

การนำเสนอด้วยสื่อ


จุดมุ่งหมายในการนำเสนอ

1. เพื่อให้ผู้ชม ผู้ฟัง รับและเข้าใจสิ่งที่นำเสนอ

2. ให้ผู้ชม ผุ้ฟังเกิดความประทับใจและนำไปสู่ความเชื่อถือในข้อมูลที่นำเสนอ

          การใช้สื่อโสตทัศนูปกรณ์ มีผลในทางจิตวิทยาการเรียนรู้ ซึ่งนักวิจัยค้นพบว่า การรับรู้ข้อมูลโดย
ผ่านทางประสาทสัมผัสสองอย่าง คือ ตา และหูพร้อมกัน จะทำให้เกิดการรับรู้ได้ดีกว่า การรับรู้แค่ทางเดียว จึงได้มีการพัฒนาสื่อหลายๆประเภท เพื่อให้ผู้นำเสนอสามารถเสือกสื่อนำเสนอมาใช้ได้อย่างเหมาะสมตามรูปแบบ

เทคนิคการนำเสนอ

การดึงดูดความสนใจ

          โดนการออกแบบให้สิ่งที่ปรากฎต่อสายตานั้นชวนมอง และมีความสบายตาสบายใจขึ้น เมื่อชมการนำเสนอ ดังนั้น การเลือกองค์ประกอบต่างๆ เช่น สีพื้น แบบ สี และขนาดของตัวอักษร รูปประกอบ
ต้องเหมาะสมสวสยงาม

ความชัดเจน และความกระชับของเนื้อหา

          ส่วนที่เป็นข้อความต้องสั้น แต่ได้ใจความชัดเจน ส่วนที่เป็นภาพประกอบต้องมีส่วนสัมพันธ์อย่าง
สร้างสรรค์กับข้อความที่ต้องการสื่อความหมาย การใช้ภาพประกอบ มีประโยชน์อย่างมาก แต่ ก่อนที่จะตัดสินใจใช้ภาพใดประกอบ ควรคิดให้ดีก่อนว่า ต้องการใช้ภาพสื่อความหมายอะไรและภาพที่เลือกมานั้น สามารถทำหน้าที่สื่อความหมายเช่นนั้น จริงหรือไม่

ความเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย

          การสร้างจุดเน้นตามข้อ1 และข้อ2 ข้างต้น ต้องคำนึงถึงกลุ่มเป้าหมายด้วยกัน เช่น กลุ่มเป้าหมายเป็นเด็ก การใช้สีสดๆ และภาพการ์ตูนเพื่อความเหมาะสม แต่ถ้าหากกลุ่มเป้าหมายเป็นผู้ใหญ่ และเนื้อหาทีจะนำเสนอเป็นเรื่องเกี่ยวกับ วิชาการ หรือธุรกิจ การใช้สืสัน และรูปการ์ตูน อาจจะทำให้ดูไม่น่าเชื่อถือเพราะขาดภาพลักษณ์ของการ เอาจริงเอาจังไปหน่อย

ทำความเข้าใจกับงานที่ต้องนำเสนอ

          เราต้องเข้าใจถึงลักษณะงานที่เราต้องการนำเสนอก่อนว่า เป็นงานลักษณะเช่นใด เช่น เป็นข้อความ หรือมีการคำนวณ หรือเป็นงานที่เกี่ยวกับการค้น การเก็บรักษาข้อมูล เพื่อเป็นแนวทางในการเลือกระบบสารสนเทศทีเหมาะสมกับเนื้อหานั้นๆ

รูปแบบการนำเสนอ

รูปแบบการนำเสนอข้อมูลโดยใช้คอมพิวเตอร์ ปัจจุบันที่นิยมใช้กัน มีอยู่ 2 รูปแบบ คือ

1.การนำเสนอแบบ Web page

          เป็นรูปแบบการนำเสนอที่ใช้บนอินเทอร์เน็ต การนำเสนอแบบนี้ สามารถสร้างการเชื่อมโยงที่สลับซับซ้อน ระหว่างส่วนต่างๆ ตลอดจน สามารถสร้างการเชื่อมโยงเอกสารที่ต่างรูปแบบกันได้ แต่ต้องใช้เวลาในการจัดทำมากกว่า รูปแบบอื่น และผู้จัดทำ ต้องมีความรู้ความชำนาญในการใช้โปรแกรม เพื่อสร้างเว็ปเพจ

2.การนำเสนอแบบ Slide Presentation

          เป็นโปรแกรมที่ใช้ค่อนข้างง่าย มีรูปแบบการนำเสนอให้ใช้ได้หลายรูปแบบ สามารถเรียกใช้ตาราง แผนภูมิ หรือรูปภาพประกอบ และตกแต่งด้วยสีสันสวยงาม ได้ทั้ง สีพื้น สีของตัวอักษร รูปแบบฟอนต์ ของตัวอักษรฟอนต์ ได้ง่ายและสะดวก

การนำเสนอโดยใช้สื่อประกอบ

          อุปกรณ์ที่สามารถถ่ายทอดภาพและเสียงในงานที่นำเสนอ เพื่อให้งานนำเสนอมีคุณภาพ เข้าถึงผู้ชม และผู้ฟังได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนี้

1.Projector เป็นอุปกรณ์ฉายภาพประกอบ โดยสามารถรองรับสัญญาณจากคอมพิวเตอร์ เครื่องวีซีดี เครื่องเล่นดีวีดี เป็นต้น

2.Digital Camera เป็นอุกรณ์รับภาพที่เปลี่ยนจากฟิลม์ มาเป็นอีเล็กทรอนิคส์

3.Computer Laptop เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สร้างงานนำเสนอ และเป็นสื่อกลางในการเชื่องโยงอุปกรณ์อื่นๆ เช่น Projector

การออกแบบสื่อสำหรับการนำเสนอ

          หลักการสร้างสื่อนำเสนอที่ดีประเด็นที่ต้องให้ความสำคัญ ได้แก่


1.ความเรียบง่าย : จัดทำไสลด์ให้ดูเรียบง่ายที่สุดแต่ยังคงไว้ด้วยความสวยงาม และใช้งานง่าย

2.มีความคงตัว : เป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการนำเสนอไสลด์ซึ่งเป็นเนื้อหาในเรื่องเดียวกัน คือ ต้องมีความคงตัวในการออกแบบไสลด์

3.ใช้ความสมดุล : การออกแบบส่วนประกอบไสลด์ให้มีลักษณะสมดุลในแบบแผน หรือสมดุลไม่มีแบบแผนก็ได้

4.มีแนวคิดเดียวในไสลด์แต่ละแผ่น : ข้อความและไสลด์ภาพบรรจุแผ่นหนึ่งๆ ต้องเป็นเนื้อหาแต่ละแนวคิดเท่านั้น

5.สร้างความกลมกลืน : ใช้แบบอักษร และภาพกราฟฟิค ให้เหมาะสมกับลักษณะของเนื้อหาใช้แบบอักษรอ่านง่าย และใช้สีที่ดูแล้วสบายตา

6.แบบอักษร : ไม่ใช้อักษรมากกว่า 2 แบบในไลด์1 เรื่อง โดยใช้แบบหนึ่งเป็นหัวข้อ และอีกแบบเป็นเนื้อหา

7.เนื้อหา และจุดนำข้อความ : ข้อความในไสลด์ ควรเป็นเฉพาะหัวข้อ หรือเนื้อหาสำคัญเท่านั้นและควรนำเสนอเป็นแต่ละย่อหน้า โดยอาจมีจุดนำข้อความอยู่ข้างหน้า เพื่อให้ทราบถึงเนื้อหาแต่ละประเด็น

8.เลือใช้กราฟฟิคอย่างระมัดระวัง : การใช้กราฟฟิคอย่างเหมาะสม จะสามารถเพิ่มการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิผล

วันเสาร์ที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2557

รูปแบบการเรียนรู้ ในระบบ Network



Mooc ย่อมาจาก Massive Open Online Course ความหมาย คือ (Course) การเรียนออนไลน์(Onilne)จากระบบที่เปิดสอนแบบฟรี(Open) และมีเพื่อนร่วมเรียนอยู่เป็นจำนวนมาก(Massive) 

              ซึ่งคำว่าจำนวนมากนั้น ไม่ได้จำกัดอยู่ที่เท่าไหร่ เพราะใครๆก็สามารถศึกษาจากที่นี่ได้ ยิ่งสมัยที่มีเทคโนโลยีทันสมัย ทำให้คนสามารถหาความรู้ได้ง่ายจากแหล่งศึกษาประเภทนี้ โดยในการสอน จะมีวิดีโอบรรยายมาสอนควบคู่กันไป ทำให้เข้าใจได้ง่าย และไม่เสียเงินซักแดงเดียว แถมยังมี แบบทดสอบ Quiz หรือ แบบฝึกหัด รวมทั้ง Assignment หรือแม้กระทั่งการเข้าไปร่วมสนทนาห้องเรียน ในรูปแบบออนไลน์ได้อีก

             ตามจริงแล้ว ก็มีสื่อการสอนออนไลน์ อยู่เยอะเหมือนกัน อย่างเช่น E-Learning ที่เป็นที่แรกๆที่มีรูปแบบการสอนนี้ ซึ่งระบบของ E-Learning นั้น จะให้นักศึกษาได้มีโอกาสเรียนรู้ผ่านระบบออนไลน์รวมทั้งสามารถใช้ประโยชน์จาก Internet มาช่วยในการเสริมความรู้ ซึ่งแนวคิดของ E-Learning นั้น เป็นแรงผลักดันทำให้เกิด MOOC ขึ้นมา โดยที่ MOOC เพิ่มความเป็นออนไลน์มากกว่า  หมายความว่า MOOC จะเน้นการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ มาช่วยในการสอนมากขึ้น โดยเฉพาะ Internet และระบบคอมพิวเตอร์

             จุดที่น่าสนใจของ MOOC อีกอย่างคือ การติดต่อสื่อสารระหว่างอาจารย์ และ นักศึกษาได้(แม้จะเป็นระบบทางกลไกก็ตาม) กล่าวได้ว่า มีการออกแบบให้อาจารย์สามาถเก็บข้อมูลการเรียนของนักศึกษา
ได้ง่ายมากยิ่งขึ้น เช่น อาจารย์สามารถเข้ามาตรวจดูสถิติการดูวิดีโอ ที่Lecture อันไหนมากเป็นพิเศษรึเปล่า หรือ นักเรียนทำแบบฝึกหัดอันใดมากกว่า รวมทั้งดูว่านักศึกษามีความถนัดด้านไหนเป็นพิเศษบ้าง
และยังสามารถวิเคราะห์แก้โจทย์ที่นักศึกษาไม่เข้าใจให้หายข้องใจได้อีกต่างหาก การที่อาจารย์สามารถดูสถิติพวกนี้ได้ จะเป็นการสร้างปฏิสัมพันธ์อันดีกับนักศึกษาได้ แม้จะอยู่ไกลกันก็ตาม ซึ่งนี่เป็นสิ่งที่ดีเพราะเป็นกันการแก้ไขข้อด้อยของการเรียนออนไลน์ที่ปกติ เป็นการเรียนเบบรับทางเดียวเท่านั้น โดยที่นักศึกษาจะไม่สามารถโต้ตอบหรือ รับปฏิสัมพันธ์ใดๆได้เลย

              อีกเหตุผลที่ MOOC นั้น เป็นที่รู้จักมากขุ้น นั่นก็เพราะว่ามหาวิทยาลัยชั้นนำของสหรัฐอมเริกาได้นำไปใช้เป็นสื่อประกอบการสอนแบบออนไลน์ เช่น Harvard University, MIT แบะ University of California Berkeley ซึ่งแรกเริ่มก็ทำกันทีละมหาวิทยาลัย แต่ต่อมาก็ร่วมกันพัฒนาด้วยกันหลายๆมหาวิทยาลัย โดยได้มีการจัดทำ Platform ให้มหาวิทยาลัยต่างๆ สามารถนำรายวิชาที่สอน สามารถใส่เข้าไปเพื่อให้นักศึกษา ได้มีโอกาสในด้านการเรียนหลักสูตรนั้นๆมากขึ้น

Ex.(ตัวอย่างคลิป)

University of Virginia

Grow to Greatness: Smart Growth for Private Businesses, Part I

This course focuses on the common growth challenges faced by existing private businesses when they attempt to grow substantially.


Design: Creation of Artifacts in Society

Combine fundamental concepts with hands-on design challenges to become a better designer.

What is MOOC ?




Credit: https://www.coursera.org/, www.youtube.com

และท้ายที่สุดนี้  อนาคตเราอาจได้เปลี่ยนรูปแบบการเรียนการสอนใหม่ เพื่อให้เข้ากับยุคสมัยที่รุ่งเรืองขนาดนี้ก็เป็นได้

แหล่งที่มา
 http://www.dailynews.co.th/Content/IT/184597/MOOC+%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%A5%E0%B8%99%E0%B9%8C%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%A8%E0%B8%95%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A9%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88+21+-+%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B9%84%E0%B8%AD%E0%B8%97%E0%B8%B5+%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%9A%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B9%82%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%A2%E0%B8%B5

วันเสาร์ที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2557

การเรียนรู้ในศตวรรษที่21

ปัจจัยสนับสนุนการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

องค์ประกอบที่สำคัญและจำเป็นเพื่อในการเรียนรู้ของนักเรียนทักษะในศตวรรษที่ 21 คือ มาตรฐานศตวรรษที่ 21 การประเมินผลหลักสูตรการเรียนการสอนการพัฒนาอาชีพและสภาพแวดล้อมการเรียนรู้จะต้องสอดคล้องกับระบบสนับสนุนการผลิตที่ก่อให้เกิดผลลัพธ์ในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักเรียนในปัจจุบัน

มาตรฐานศตวรรษที่ 21
-  มุ่งเน้นทักษะในศตวรรษที่ 21 นักเรียนมีความรู้ในเนื้อหาและความเชี่ยวชาญ
-  สร้างความเข้าใจระหว่างวิชาหลัก เช่นเดียวกับรูปแบบสหวิทยาการศตวรรษที่ 21
-  เน้นความเข้าใจอย่างลึกซึ้งมากกว่าความรู้แบบผิวเผิน
-  การของมีส่วนร่วมของนักเรียนกับ ข้อมูลและ เครื่องมือในโลกแห่งความเป็นจริงและพวกเขาจะพบผู้
เชียวชาญในวิทยาลัยหรือในที่ทำงานและ ชีวิตนักเรียนจะเรียนรู้ได้ดีที่สุดเมื่อทำงานอย่างแข็งขัน การแก้ปัญหาที่มีความหมาย
-  การมีมาตรการหลายๆรูปแบบของการเรียนรู้

​                          การประเมินด้านทักษะในศตวรรษที่ 21
-  รองรับความสมดุลของการประเมินรวมทั้งมีคุณภาพสูง การทดสอบมาตรฐานที่มีคุณภาพสูงพร้อมกับการประเมินผลในชั้นเรียนที่มีประสิทธิภาพ
-  เน้นข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ในการปฏิบัติงานของนักเรียนที่ถูกฝังลงในการเรียนรู้ในชีวิตประจำวัน
-  การประเมินการใช้เทคโนโลยีให้มีความสมดุล ความชำนาญนักเรียนซึ่งเป็นการวัดทักษะในศตวรรษที่ 21
-  ช่วยให้การพัฒนาคุณภาพนักเรียนนักศึกษาที่แสดงให้เห็นการเรียนรู้ทักษะในศตวรรษที่ 21 เพื่อการศึกษาและการทำงานในอนาคต
-  ช่วยให้มาตรการการประเมินประสิทธิภาพระบบการศึกษาในระดับที่สูงประเมินถึงสมรรถนะของนักเรียนด้านทักษะในศตวรรษที่ 21

                                หลักสูตร และการสอนในศตวรรษที่ 21
-  สอนทักษะในศตวรรษที่ 21 ซึ่งแยกกัน ในบริบทของวิชาหลักและ รูปแบบสหวิทยาการในศตวรรษที่  21
-  มุ่งเน้นไปที่การให้โอกาสสำหรับการใช้ทักษะในศตวรรษที่ 21 ในเนื้อหาและวิธีการตามความสามารถในการเรียนรู้
-  ช่วยให้วิธีการเรียนรู้นวัตกรรมที่บูรณาการการใช้เทคโนโลยีสนับสนุนแนวทางเพิ่มเติมในการใช้ปัญหาเป็นฐาน  และทักษะการคิดขั้นสูง
-  สนับสนุนให้รวมทรัพยากรของชุมชน ภูมิปัญญาชาวบ้าน แหล่งเรียนรู้นอกห้องเรียน

                           


                              สภาพแวดล้อมการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
-  สร้างการเรียนรู้วิธีปฏิบัติที่สนับสนุนความต้องการของมนุษย์และสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่จะสนับสนุนการเรียนการสอนและการเรียนรู้ด้วยทักษะในศตวรรษที่ 21
-  สนับสนุนการเรียนรู้ชุมชนมืออาชีพที่ช่วยให้การศึกษาเพื่อการทำงานร่วมกันแบ่งปันแนวทางปฏิบัติที่ดีและบูรณาการทักษะในศตวรรษที่ 21 ในการปฏิบัติในชั้นเรียน
-  ช่วยให้นักเรียนได้เรียนรู้ในงานที่เกี่ยวข้องในโลกศตวรรษที่ 21 แวดล้อมจริง (เช่น ปฏิบัติจริงหรือผ่านการทำงานที่ใช้ตามโครงการหรืออื่น ๆ )
-  เรียนรู้การใช้เครื่องมือเทคโนโลยีและทรัพยากรอย่างมีคุณภาพ  รู้จักการทำงานสำหรับการเรียนรู้เป็นกลุ่มทีมและรายบุคคล
-  สนับสนุนการติดต่อกับชุมชนและการมีส่วนระหว่างต่างชาติในการเรียนรู้โดยตรงและออนไลน์
  การเตรียมความพร้อมให้นักเรียนในศตวรรษที่ 21 อาศัยการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ โดยการมีวิสัยทัศน์ พันธกิจและเป้าหมายที่ชัดเจน  ผู้เรียนจะต้องมีความรู้ที่จำเป็นในการใช้ชีวิตและทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ มีความรู้และทักษะเพื่อให้สามารถการใช้ชีวิต การทำงาน ดำรงชีพอยู่ได้กับภาวะเศรษฐกิจในสังคมโลกปัจจุบัน

Credit:http://lripsm.wix.com/21st#!about_us/cjg9

                              
                        









Internet & Search Engine

Internet

 เครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ ที่มีการเชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายหลาย ๆ เครือข่ายทั่วโลก โดยใช้ภาษาที่ใช้สื่อสารกันระหว่างคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า โพรโทคอล (protocol) ผู้ใช้เครือข่ายนี้สามารถสื่อสารถึงกันได้ในหลาย ๆ ทาง อาทิ อีเมล เว็บบอร์ด และสามารถสืบค้นข้อมูลและข่าวสารต่าง ๆ รวมทั้งคัดลอกแฟ้มข้อมูลและโปรแกรมมาใช้ได้

1.ประโยชน์ของ Intenet 

1.1สามารถติดต่อสื่อสารกับบุคคลอื่นทั่วโลก

1.2สามารถค้นหาข้อมูลต่างๆได้เสมือนกับเราไปนั่งอยู่ที่ห้องสมุดขนาดใหญ่ได้ข้อมูลมากมายจากทั่วทุกมุมโลก

1.3เปรียบเสมือนเวที่ให้เข้าไปแสดงความคิดเห็นได้ภายในห้องสนทนา(chat  room) และกระดานข่าว(Web  room)

เป็นการเปิดโลกกว้างและวิสัยทัศน์ในเรื่องที่น่าสนใจ

1.4สามารถติดตามเคลื่อนไหวจากข่าวสารทั่วโลกอย่างรวดเร็ว

1.5สามารถเปิดการค้าได้ด้วยตัวเอง  โดยไม่ต้องหาที่จัดตั้งร้านหรือพนักงานบริการ  แต่สามารถทำการค้าได้ด้วยตัวเองคนเดียว

1.6สามารถซื้อสินค้า  โดยไม่ต้องเดินทางไปยังร้านค้า  ซื้อผ่านทางเว็บไซต์ที่ให้บริการ  การชำระเงินก็สะดวก เช่น  ชำระผ่าน

บัตรเครดิต การหักเงินผ่านบัญชีธนาคาร

1.7สามารถรับส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์(E-mail)  เป็นการส่งจดหมายที่ไม่ต้องเสียค่าบริการและรับส่งจดหมายได้ภายในและ

ภายนอกประเทศ  นอกจากจดหมายที่เป็นข้อความแล้ว  ยังส่งบัตรอวยพรในเทศการต่างๆได้อีก

1.8สามารถอ่านนิตยสาร  หนังสือพิมพ์  บทความ  และเรื่องราวต่างๆได้ฟรีเหมือนกับเราซื้อหนังสือฉบับนั้นมาอ่านเอง

1.9สามารถติดประกาศข้อความต่างๆที่ต้องการประกาศให้ผู้อื่นทราบได้  เช่น  ประกาศขายบ้าน  ประกาศสมัครงาน  ประกาศขอ

ความช่วยเหลือ

1.10มีของฟรีอีกมากมายที่สามารถใช้บริการได้จากอินเทอร์เน็ต  เช่น  ภาพ  เพลง  โปรแกรมคอมพิวเตอร์  ดูหนัง  เกม

Credit: https://www.l3nr.org/posts/460787

Search Engine

Search Engine มี3ประเภท โดยมีหลักการทำงานที่ต่างกัน และการจัดอันดับการค้นหาข้อมูลก็ต่างกันด้วย

เพราะมีลักษณะการทำงานที่ต่างกันนี่เอง ทำให้โดยทั่วๆ ไปแล้วจะมีการแบ่งออกเป็นหลายๆประเภท

ด้วยกัน แต่ที่สรุปได้หลักๆแล้ว มี3ประเภทด้วยกัน ดังนี้

ประเภทที่1 Crawler Based Search Engine

Crawler Based Search Engine คือ เครื่องมือ การค้นหาอินเตอร์เน็ตแบบอาศัยการบันทึกข้อมูล และจัด

เก็บข้อมูลเป็นหลัก ซึ่งจะเป็นจำพวกSearch Engine ที่ได้รับความนิยมสูงสุด เนื่องจากมันให้ผลการค้นหา

แบบที่แม่นยำตรงตามที่ต้องการที่สุด และการประมวลผลค้นหานั้น สามารถทำได้อย่างรวดเร็ว จึงทำให้

มีบทบาทในการค้นหาข้อมูลมากที่สุดในปัจจุบัน

มีองค์ประกอบหลัก2ส่วนด้วยกัน คือ

1.ฐานข้อมูลโดยส่วนใหญ่แล้ว Crawler Based Search Engine เหล่านี้ จะมีฐานข้อมูลเป็นของตัวเอง ที่มี

ระบบการประมวลผล และการจัดอันดับที่เป็นเอกลักษ์ณเฉพาะอย่างมาก

2.ซอฟแวร์ คือ เครื่องมือหลักที่สำคัญที่สุดต่อSearch Engineอย่างมาก เพราะต้องอาศัยโปรแกรมเล็กๆ

ทำหน้าที่ในการตรวจหา และทำการจัดเก็บข้อมูล หน้าเพจ หรือเว็บไซต์ต่างๆ ในรูปแบบของการทำ

สำเนาข้อมูล ให้เหมือนกับต้นฉบับทุกอย่าง ซึ่งเรามักจะรู้จักในนาม Spider หรือ Web Crawler หรือ

Search Engine Robot.

 ตัวอย่าง Crawler Based ชื่อดังที่รู้จักกันทั่วโลก http://www.google.com

ประเภทที่2 Web Directory หรือ Blog Directory

Web Directory หรือ Blog Directory คือ สารบัญเว็บไซต์ ที่ให้คุณสามารถค้นหาข่าวสารข้อมูล ด้วยหมวด

หมู่ข่าวสารที่เกี่ยวข้องกัน ในปริมาณที่มากๆ (ลักษณะคล้ายกับสมุดหน้าเหลือง) ซึ่งจะมีการ สร้างดรรชนี

มีการระบุหมวดหมู่ ไว้อย่างชัดเจน ซึ่งช่วยให้การค้นหาข้อมูลต่างๆ ตามหมวดหมู่นั้นๆ ได้รับการเปรียบ

เทียบอ้างอิง เพื่อหาข้อเท็จจริงได้ ในขณะที่เราค้นหาข้อมูล เพราะมีWebsiteมากมาย หรือ Blog ที่มีเนื้อ

หาข้อมูลคล้ายๆกัน ในหมวดหมู่นั้นๆ ซึ่งทำให้เรา สามารถเลือกข้อมูลที่ถูกต้องและตรงตามความ

ต้องการได้อย่างง่ายดาย ซึ่งจะยกตัวอย่าง ดังนี้

ODP Web Directory ชื่อดังของโลก ที่มี Search Engine มกามายใช้เป็นฐานข้อมูลDirectory

1.ODP หรือ Dmoz เป็นเว็บ Directory ที่ใหญ่ที่สุดในโลก Search Engine หลายๆแห่ง ก็ใช้ข้อมูลในที่แห่งนี้

เกือบทั้งสิ้น เช่น Google,AOL,Yahoo,Netscape และอื่นๆอีกมากมาย ODP มีกา่รบันทึกข้อมูล

ประมาณ80ภาษาทั่วโลก รวมถึงประเทศไทยด้วย

(URL :http://www.dmoz.org)

2.สารบัญเว็บไทย sanook ก็เป็น Web Directory เหมือนกัน และเป็นที่รู้จักมากที่สุดในไทย

(URL :http://webindex.sanook.com)

3.Blog Directory อย่าง Blog Flux Directory ที่มีการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับบล๊อกมากมายตามหมวดหมู่ต่างๆ

หรือBlog Directoryอื่นๆ ที่สามารถหาได้ จาก Make Manyแห่งนี้

ประเภทที่3 Meta Search Engine

Meta Search Engine คือ Search Engine ที่ใช้หลักการในการค้นหาโดย อาศัย Meta Tag ในภาษาHTML

ซึ่งมีการประกาศชุดคำสั่งต่างๆเป็นรูปแบบของ Text Editor ด้วยภาษา HTML นั่นเอง เช่น ชื่อผู้พัฒนา

คำค้นหา เจ้าของเว็บไซต์ หรือ บล๊อก หรือ คำอธิบายเว็บ หรือ บล๊อคอย่างย่อ

Meta Search Engine นั้น มักประมวลผลการค้นหาได้ไม่แม่นยำอย่างที่คิด นั่นเป็นเพราะบางครั้งผู้ให้

บริการ หรือ ผู้ออกแบบเว็บไซต์ สามารถใส่อะไรเข้าไปก็ได้มากมาย เพื่อให้เกิดคำค้นหาและพบเว็บ

หรือ บล๊อคของตัวเอง และอีกประกสรหนึ่ง ก็คือ มีการอาศัยSearch Engine Index Server หลายๆ แห่ง

มาประมวลผลรวมกันจึงทำให้การผลค้นหาข้อมูลต่างๆ ไม่ตรงตามที่ต้องการเท่าที่ควร

Credit: http://urlsiriporn.blogspot.com/2013/02/search-engine-search-engine-search.html